พระตำหนักที่ประทับแรมอำเภอปากพนัง เป็นพระตำหนักที่สร้างขึ้นในโครงการ สร้างบ้านให้พ่อ ซึ่งดำเนินการโดยความร่วมมือของชาวนครศรีธรรมราช และชาวไทยทั่วประเทศ สร้างขึ้นเพื่อหวังว่าพระองค์ท่านคงจะมีโอกาส ได้มาเห็นความสำเร็จที่เกิดขึ้น จากที่พระองค์เคยสร้างไว้ ให้กับพวกเราที่ปากพนังแห่งนี้
จากปัญหาน้ำ ปัญหาที่ทำกิน ปัญาดินเปรี้ยว การเสียสมดุลย์ของธรรมชาติ ปัญหาอุทกภัย กลายมาเป็นโครงพระราชดำริ เพื่อพัฒนาลุ่มแม่น้ำปากพนัง ประชาชนชาวนครฯ จึงเลือกเอาสถานที่ตั้ง โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำปากพนังนี้เป็นที่สร้างบ้านให้พ่อ อาจจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ที่สวยที่สุดในจังหวัด ไม่มีวิวสวยๆ แต่ที่นี่ เป็นความสำเร็จของโครงการ เป็นความภูมิใจของคนนครฯ และเป็นสิ่งที่พระองค์ท่านได้บุกเบิกสร้างมันขึ้นมา ควาหมายของที่นี่จึงมากกว่าที่ตาเราเห็น
พระตำหนักที่ประทับปากพนังนี้ สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นพระตำหนักทรงงานถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคราวที่เสด็จอยู่ และทรงงานในเมืองนครศรีธรรมราช กลุ่มอาคารพระตำหนักฯ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบภาคใต้ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน โดยมีส่วนประดับตกแต่งภายในที่เน้นศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ โดยเฉพาะผ้าทอเมืองนครฯ ลวดลายการตบแต่งแกะสลักล้วนมีความหมายทั้งสิ้น
การะประดับตกแต่งสวนก็ใช้ต้นไม้ท้องถิ่น เป็นหลัก ที่เราจะสังเตุเห็นก็มี ต้นจันกระพ้อ เป็นไม้หอมที่ปลูกยาก เอามาจากภูเขา, ต้นสัง เป็นพืชรั้วกินได้คนใต้ชอบกิน
ผู้ออกแบบอาคารคือ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี เป็นสถาปนิก ชาวจังหวัดสงขลา และเป็นศิลปินอาวุโสดีเด่นเป็นที่ยอมรับในด้านสถาปัตยกรรม ท่านได้ไปศึกษาแบบมาจากทุกภาคทั่วไทย ว่าจะออกแบบตำหนักนี้ยังไงให้เหมาะกับภาคใต้โดยเฉพาะ จึงนำศิลปแบบใต้มาสร้างตามอย่างที่เห็น
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2550 สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมารับมอบ ณ ปัจจุบัน ทางสำนักพระราชวัง ได้รับมอบและเข้าไปดูแลอาคารสถานที่เรียบร้อยแล้ว สมัยอดีตที่แหลมตะลุมพุก และปากพนังนี้ มีเพลงร้องของชาวเรือที่กล่าวว่า “นครฯจะไร้ยาก บางจากจะไร้ทุกข์ ปากพนังจะสนุก แหลมตะลุมพุกจะเป็นวัง” ก็ไม่คิดว่าจะเป็นจริง แต่ ณ ปัจจุบัน เป็นจริงขึ้นมาแล้ว
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2550 สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมารับมอบ ณ ปัจจุบัน ทางสำนักพระราชวัง ได้รับมอบและเข้าไปดูแลอาคารสถานที่เรียบร้อยแล้ว สมัยอดีตที่แหลมตะลุมพุก และปากพนังนี้ มีเพลงร้องของชาวเรือที่กล่าวว่า “นครฯจะไร้ยาก บางจากจะไร้ทุกข์ ปากพนังจะสนุก แหลมตะลุมพุกจะเป็นวัง” ก็ไม่คิดว่าจะเป็นจริง แต่ ณ ปัจจุบัน เป็นจริงขึ้นมาแล้ว
ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีความรู้เกี่ยวกับดครงการพระราชดิริ ที่ปากพนังนี้หลาย โครงการด้านน้ำ ประวัติของโครงการ และการช่วยเหลือที่มี ตั้งแตสมัยยุคอดีต แหลมตะลุมพุกโดนถล่มด้วยพายุใหญ่ การรดมความช่วยเหลือในยุคนั้น ที่ในหลวงทรงใช้
ประตูระบายน้ำปากพนัง เป็นโครงการที่ในหลวงทรง ช่วยเหรอคนนครฯด้านน้ำ ที่ประสบปัญหาอย่างหนัก จากเดิมในอดีตที่มีการปลูกข้าวกันมาก เดี๋ยวนี้ด้วยความนิยมการทำนากุ้ง ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป ที่ดินนาเดิม กลายเป็นนากุ้ง มีการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนจำนวนมาก และเมื่อราคากุ้งตก นากุ้งก็ร้าง ดินเค็ม และกลับมาใช้ประโยชน์ไม่ได้กลายเป็นนาร้างมากมาย จนมีโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นมา
โครงการนี้เข้ามาปรับปรุงเรื่องการชลประทานน้ำให้กับเกษตรกร เพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรมโดยตรง เพื่อรักษาสมดุลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
ข้อมูลการก่อสร้าง
พระตำหนักฯ สร้างโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองได้รับมอบหมายให้ ดำเนินการตรวจสอบ และสานต่อโครงการ การก่อสร้างพระตำหนักประทับแรม อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2546 โดยมีผู้แทนจากหลายหน่วยงาน ร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ซึ่งได้มีการว่าจ้างบริษัท สเตท คอนสตรัคชั่น จำกัด ให้ดำเนินการก่อสร้าง จนกระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2547 รวมมูลค่างานทั้งสิ้น 392,328,704 บาท
โครงการนี้เข้ามาปรับปรุงเรื่องการชลประทานน้ำให้กับเกษตรกร เพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรมโดยตรง เพื่อรักษาสมดุลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
ข้อมูลการก่อสร้าง
พระตำหนักฯ สร้างโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองได้รับมอบหมายให้ ดำเนินการตรวจสอบ และสานต่อโครงการ การก่อสร้างพระตำหนักประทับแรม อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2546 โดยมีผู้แทนจากหลายหน่วยงาน ร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ซึ่งได้มีการว่าจ้างบริษัท สเตท คอนสตรัคชั่น จำกัด ให้ดำเนินการก่อสร้าง จนกระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2547 รวมมูลค่างานทั้งสิ้น 392,328,704 บาท
- เนื้อที่โครงการรวม 104 ไร่ 3 งาน 86.60 ตารางวา
- เขตพระราชฐานชั้นใน 24ไร่ 2 งาน 36 ตารางวา
- พื้นที่อาคารรวมประมาณ 6,000 ตารางเมตร
- ที่จอดรถพระประเทียบ
- ศาลารอรับเสด็จ1
- สาลารับเสด็จ2
- อาคารพระราชทานเลี้ยง
- พระตำหนักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
- อาคารเรือนราชองครักษ์ และแพทย์หลวง
- อาคารท้องพระโรง
- พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
- อาคารเรือนพักคุณข้าหลวง
- พระตำหนักฯ
- ศาลากลางน้ำ
- อาคารจอดรถพระที่นั่ง1
- อาคารจอดรถพระที่นั่ง2
- นารายณ์ทรงสุบรรณ
- ลิฟต์โดยสารส่วนพระองค์
การเดินทาง
จากอำเภอเมืองไปยังอำเภอปากพนังระยะทางประมาณ 35 กม. ใช้เส้นทาง 4013 เลี้ยวขวาบริเวณสามแยก ไปยังอำเภอปากพนังฝั่งตะวันออก ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาอีกครั้ง เดินทางต่ออีกประมาณ 2กม. ถึงหัวงาน โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และหากจะเดินทางไปยังอำเภอปากพนังฝั่งตะวันออก ใช้เส้นทาง 4013 จากอำเภอเมือง เลี้ยวขวาบริเวณสามแยก ผ่านสี่แยก และข้ามสะพานข้ามแม่น้ำปากพนัง ไปยังอำเภอปากพนังฝั่งตะวันออก
จากอำเภอเมืองไปยังอำเภอปากพนังระยะทางประมาณ 35 กม. ใช้เส้นทาง 4013 เลี้ยวขวาบริเวณสามแยก ไปยังอำเภอปากพนังฝั่งตะวันออก ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาอีกครั้ง เดินทางต่ออีกประมาณ 2กม. ถึงหัวงาน โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และหากจะเดินทางไปยังอำเภอปากพนังฝั่งตะวันออก ใช้เส้นทาง 4013 จากอำเภอเมือง เลี้ยวขวาบริเวณสามแยก ผ่านสี่แยก และข้ามสะพานข้ามแม่น้ำปากพนัง ไปยังอำเภอปากพนังฝั่งตะวันออก
ติดต่อ:
โทร.075-416138 , 416140
สถานที่ตั้ง: โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำปากพนัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น